สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 ยินดีต้อนรับ www.facebook.com/lddr05
 



 
แผน/ผล การปฏิบัติงาน 2566
แผน/ผล การปฏิบัติงาน 2565
แผน/ผล การปฏิบัติงานี 2564
การบริหารจัดการภาครัฐ PMQA
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร
แผนการปฏิบัติงานกรมพัฒนาที่ดิน
ยุทธศาสตร์กรมพัฒนาที่ดิน
แผนงาน / โครงการ งบประมาณ
การดำเนินงานก่อสร้างแหล่งน้ำ
 
แผนที่การใช้ที่ดิน
Agri-Map แผนที่ฐานข้อมูลเกษตร
แผนที่สภาพการใช้ที่ดิน
แผนที่กลุ่มชุดดิน
Zoneing พืชเศรษฐกิจ
ระบบภูมิสารสนเทศสถิติ
 
 
คู่มือการวิเคราะห์ดินสำหรับ
แนะนำการใช้ประโยชน์ที่ดิน
แนะนำการลดต้นการผลิต
บริการวิเคราะห์ดิน
แนะนำการใช้ปุ๋ย
การรับรองมาตรฐานวัสดุ :Q
บริการฐานข้อมูลทรัพยากรดิน
บริการฐานข้อมูลเขตการใช้ที่ดิน
บริการจำแนกประเภทที่ดิน
บริการแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี
บริการจุลินทรีย์ สารเร่ง พด.
บริการปุ๋ยพืชสด / วัสดูปูน
บริการกล้าหญ้าแฝก
 
 
 
 
 
ทำเนียบนักวิชาการสพข.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ติดต่อเรา
สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5

 

ที่ตั้งสำนักงานพัฒนาที่ดิน

สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5   ถนนมิตรภาพ  ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 
โทร 043-246667

< >

 

คลิกเพื่อเข้าสู่ระบบนำทาง ของ Google Maps

 

 
 
 
 






สำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 5

สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5  แบ่งการบริหารออกเป็น

สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 มีอำนาจหน้าที่

 
ศึกษา สำรวจ และวิเคราะห์ข้อมูลดินและที่ดิน เพื่อการวางแผนการใช้ที่ดินในระดับไร่นา
ศึกษา และวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดิน ตลอดจนทดสอบผลการวิจัยเพื่อการปรับใช้ในพื้นที่
รวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานในพื้นที่ ตลอดจนวิเคราะห์ สนับสนุน ผลิต และให้บริการข้อมูลสารสนเทศด้านการพัฒนาที่ดินแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดินในไร่นา
ให้บริการวิเคราะห์ และตรวจสอบดิน น้ำ พืช ปุ๋ย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ผลิตพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และการปรับปรุงบำรุงดิน
ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดินแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเกษตรกร
ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

 

FAQ คำถามที่พบบ่อย

ถาม : ต้องทำเรื่องขอหญ้าแฝกอย่างไร?
ตอบ : สำหรับการขอรับหญ้าแฝกนั้น สามารถทำได้ 2 วิธี คือ 1. ท่านผู้ขอสามารถไปขอรับหญ้าแฝกได้ด้วยตัวเองพร้อมกรอกแบบฟอร์มการขอ ที่สถานีพัฒนาที่ดินในพื้นที่ที่ใกล้เคียงที่ท่านไปขอรับ 2. ท่านสามารถแบบฟอร์มขอรับแฝกผ่านทางอินเทอร์เน็ต ด้วยระบบบริการประชาชน บนเว็บไซต์กรมพัฒนาที่ดิน http://www.ldd.go.th

ถาม : ขอหญ้าแฝกได้ปริมาณเท่าไร?
ตอบ : ในการขอหญ้าแฝก ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ว่าท่านผู้ขอจะนำไปใช้ประโยชน์ได้เพียงพอ กับความต้องการหรือไม่ เพราะแต่ละสถานีพัฒาที่ดินเขต 1 - 12 สามารถอนุมัติต้นกล้าแฝกได้ในจำนวน 30,000 ต้น

ถาม : ปุ๋ยหมักคืออะไร?
ตอบ : ปุ๋ยหมักเป็นปุ๋ยธรรมชาติ ชนิดหนึ่งซึ่งได้จากเศษพืชต่าง ๆ เศษขยะมูลฝอยหลายชนิด อาจมีซากสัตว์และมูลสัตว์รวมอยู่ด้วย เมื่อนำมาผสมรวมกันโดยอาศัยกรรมวิธีหมักอย่างง่ายๆ และใช้เวลาในระยะหนึ่งเศษพืชเศษขยะเหล่านี้อาจเปลี่ยนไปจากรูปเดิม อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของจุลินทรีย์ หลังจากนั้นก็สามารถนำเอาปุ๋ยหมักที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุง บำรุงดิน

ถาม : วิธีการทำปุ๋ยหมัก?
ตอบ : การทำปุ๋ยหมัก (Composting) คัดแยกเอาขยะที่ไม่มีคุณค่าที่จะนำมาทำเป็นปุ๋ยออก เช่น เศษกระป๋อง แก้ว โลหะ และถุงพลาสติก ฯลฯ เหลือเฉพาะขยะที่สามารถจะถูกย่อยสลายโดยเชื้อจุลินทรีย์ได้ทำให้ขยะเป็นชิ้นเล็ก ๆ โดยส่งเข้าเครื่อง หั่นบดขยะจะถูกนำไปเข้าถังหมักถ้าเป็นระบบใช้อากาศย่อยสลายจะเป็นถังเปิดให้มีการระบายอากาศเข้าออกได้สะดวก ถังหมักจะเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เป็นแถว ๆ มีประมาณ 5 ชั้น โดยขยะที่เข้ามาในครั้งแรกจะอยู่ถังชั้นบนสุดเมื่อหมักครบ 1 วัน จะถูกพลิกกลับถ่ายลงถังซึ่งอยู่ในชั้นล่างถัดไปขนาดถังหมัก ลึกประมาณ 0.90 - 1.20 ม. X 2.5 - 3.0 ม. ด้านข้างของถังหมักจะทำเป็นรูโดยรอบ เพื่อให้มีการระบายอากาศได้รอบถังจะช่วยให้จุลินทรีย์ทำปฏิกิริยาย่อยสลายได้มาก ที่สุดระยะเวลาของการย่อยสลายโดยระบบที่ใช้อากาศ (Aerobic Process)นี้ใช้เวลาประมาณ5-6วัน ก็จะทำให้เกิดการย่อยสลายของอินทรีย์สารได้ค่อนข้างสมบูรณ์ความร้อนที่เกิดขึ้นจากการหมัก จะทำให้พวกเชื้อโรคที่ติดมากับขยะหยุดการเจริญเติบโต และตายไปได้ ขยะที่หมักโดยสมบูรณ์นี้ จะมีความปลอดภัยมากพอที่จะนำมาใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ อีกวิธีหนึ่งที่เลือกใช้ในการหมักขยะพวกที่มีความชื้นสูง คือ ระบบหมักไร้อากาศ (Anaerobic Process) คือเป็นการหมักขยะชนิดทีไม่ต้องใช้อากาศหรือ ออกซิเจนในการย่อยสลาย จึงต้องหมักในถังปิด การหมักใช้เวลานานกว่าวิธี Aerobic Process ปรกติจะใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือน จะย่อยสลายขยะได้สมบูรณ์ จึงจะนำมาใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ เช่นกัน นอกจากจะใช้วิธีกำจัดขยะมูลฝอยชนิดต่าง ๆแล้ว แผนการลดขยะมูลฝอยจากแหล่งกำเนิด และการนำมูลฝอยกลับไปใช้ใหม่ จะทำให้แผนการกำจัดมูลฝอยโดยรวมมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

ถาม : ปุ๋ยหมักมีผลต่อคุณสมบัติของดินอย่างไร?
ตอบ : 1. ผลของปุ๋ยหมักต่อสมบัติทางกายภาพ 2. ผลของปุ๋ยหมักต่อคุณสมบัติทางเคมี 3. ผลของปุ๋ยหมักต่อสมบัติทางชีวภาพ

ถาม : ปัญหาดินเค็ม ดินเค็มคืออะไร? ทำไมดินเค็มจึงทำการเกษตรกรรมไม่ได้?
ตอบ : ดินเค็มคือ ดินที่มีปริมาณเกลือที่ละลายน้ำได้มากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อพืชดินเค็มที่พบดดยทั่วๆ ไป จำแนกได้ดังนี้ 1.ดินเค็ม (Saline soil) 2.ดินโซดิก (Sodic soil) 3.ดินเค็มโซดิน (Saline-solic soil) ซึ่งปัญหาดินเค็มโดยทั่วไปพื้นที่ดินเค็มจะมีปัญหาปลูกพืชไม่ได้ ผลผลิตลดลง และมีคุณภาพต่ำ พืชมักจะเกิดอาการขาดน้ำและได้รับพิษจากธาตุเป็นส่วนประกอบของเกลือที่ละลายออกมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งโซเดียมและคลอไรด์มีผลให้โครงสร้างของดินเลวลง ดินแน่น รตากพืชชอนไชไปได้ยาก นอกจากนี้ความเค็มยังมีผลทำให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารอื่นๆ เช่น โบรอน สังกะสี เป็นต้น หากไม่มีการแก้ไขจะส่งผลต่อผลผลิตทางเกษตรอย่างยิ่งยวด

ถาม : การบริการจากกรมพัฒนาที่ดินมีอะไรบ้าง?
ตอบ : 1. ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนจัดการทรัพยากรดิน และที่ดินที่มีปัญหาเฉพาะ เช่น ปัญหาดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินชายทะเล และที่ดิน เสื่อมโทรมอื่นๆที่ให้ผลผลิตลดลง การใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับสภาพดิน ตลอดจน วางแผนระบบอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมกับพื้นที่ 2. จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน การจัด ทำแหล่งน้ำในไร่นา และแหล่งน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ผ่านทางคำขอตามระบบ กชช. ในแผนพัฒนาจังหวัด 3. จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน การจัด ทำแหล่งน้ำในไร่นา และแหล่งน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ผ่านทางคำขอตามระบบ กชช. ในแผนพัฒนาจังหวัด 4. ตรวจวิเคราะห์ดิน /น้ำ /พืช และตรวจสอบคุณภาพของปุ๋ย 5. ปัจจัยการผลิตบางประการ เช่น สารตัวเร่งทำปุ๋ยหมัก พันธุ์ พืชคลุมดินบำรุงดิน พันธุ์หญ้าทนเค็ม หญ้าแฝกและหินปูนฝุ่น เป็นต้น

ถาม : สารเร่ง พด.-1 คืออะไร?
ตอบ : สารเร่ง พด.-1 คือ เชื้อจุลินทรีย์ ประเภท บักเตรี และ แอคติโมมัยซีส ซึ่งสามารถย่อยสลายเศษพืชให้เป็นปุ๋ยหมัก ใช้ได้อย่างรวดเร็ว เมื่ออยู่ในสภาพที่เหมาะสมช่วยประหยัดเวลาในการทำปุ๋ยหมัก และสามารถนำปุ๋ยหมักไปใช้ทัน กับความต้องการ และได้ปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพ

ถาม : จะปรับปรุงดินเหนียวให้เหมาะสมกับการปลูกไม้ผลได้อย่างไร?
ตอบ : ในการปรับปรุงดินนาที่เป็นดินเหนียวเพื่อเปลี่ยนมาปลูกไม้ผล ซึ่งโดยลักษณะทั่วไปของดินเหนียวเป็นดินลึก มีการระบายน้ำเลว มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5 - 5.0 มีปัญหาเรื่องดินค่อนข้างเป็นกรดจัด ในการปรับปรุงดินเพื่อปลูกไม้ผล ในขั้นต้นควรใส่ปูนมาร์ลเพื่อช่วยลดความเป็นกรดของดิน และควรปลูกพืชปุ๋ยสดหรือใส่ปุ๋ยหมัก เพื่อเพิ่มความร่วนซุยแก่ดิน จากนั้นทำการยกร่องเพื่อใช้เตรียมพื้นที่ทำการเพาะปลูกต่อไป

ถาม : กำจัดหญ้าคาด้วยวิธีใด?
ตอบ : หญ้าคาเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ที่ส่วนของลำต้น (stolon) อยู่ใต้ดิน การใช้ยากำจัดวัชพืชจำพวกใบเลี้ยงเดี่ยวสามารถใช้ได้ ในพื้นที่ใหญ่ๆ ก็มีความจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าหญ้าแต่หญ้าคาก็สามารถแทงหน่อจากลำต้นที่อยู่ใต้ดินได้อีก การใช้ยาฆ่าหญ้าจึงต้องฉีดทุกปี ในพื้นที่ขนาดเล็กที่สามารถใช้แรงงานได้ ให้ขุดและเก็บรากและลำต้นใต้ดินออกไปทำลายก็จะเป็นการปราบหญ้าคาอย่างถาวร ก็แล้วแต่จะเลือก ยาฆ่าหญ้าสะดวก ทำได้ในพื้นใหญ่ แต่ต้องทำทุกปี มีผลกระทบจากยาต่อจุลินทรีย์ดิน คน พืช ฯลฯ ใช้แรงงาน ทำได้ในพื้นที่เล็กๆ ใช้แรงงานมาก แต่เป็นการกำจัดอย่างยั่งยืน ไม่มีผลกระทบ

 

สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 แบ่งงานภายในออกเป็น  7 กลุ่ม   ดังนี้

 

ฝ่ายบริหารทั่วไป

โทร.

043-246667

E-mail :

r05_2@ldd.go.th

กลุ่มวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน

โทร.

043-244965 

E-mail :

r05_3@ldd.go.th 

กลุ่มวางแผนการใช้ที่ดิน

โทร.

043-246667 

E-mail :

r05_4@ldd.go.th 

กลุ่มสำรวจและทำแผนที่

โทร.

043-246886 

E-mail :

r05_5@ldd.go.th 

กลุ่มวิเคราะห์ดิน

โทร.

043-246758 

E-mail :

r05_6@ldd.go.th 

กลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด

โทร.

043-246667 

E-mail :

r05_7@ldd.go.th

ผู้เชี่ยวชาญด้านวางระบบพัฒนาที่ดิน

โทร.

043-241458

E-mail :

exp.ldd.r05@gmail.com

 

 

 

สถานีพัฒนาที่ดินที่รับผิดชอบ จำนวน 8 สถานี ดังนี้

 

- สถานีพัฒนาที่ดินกาฬสินธุ์
- สถานีพัฒนาที่ดินขอนแก่น
- สถานีพัฒนาที่ดินมหาสารคาม
- สถานีพัฒนาที่ดินสกลนคร
- สถานีพัฒนาที่ดินหนองคาย
- สถานีพัฒนาที่ดินหนองบัวลำภู
- สถานีพัฒนาที่ดินอุดรธานี
- สถานีพัฒนาที่ดินบึงกาฬ